วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่  6
วันจันทร์  ที่  16  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558


                              Happy Birthday อ.เบียร์

ขอให้อจารย์มีความสุขมากๆๆน่ะค่ะ คิดสิ่งใดขอให้สมปรารถนามีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเป็นอาจารย์ที่น่ารักของนักศึกษาทุกคนอย่างนี้ตลอดไปน่ะค่ะ




















วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่  5
วันจันทร์  ที่  9  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับการสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
   ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม :  การอมรมระยะสั้นๆ สัมมนา  สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาะวะปกติ
  • เด็กมักคล้ายกันมากกว่าแตกต่างกัน
  • ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิบัติสัมพันธ์กับเด็กพิเศษและเด็กปกติ
  • รู้จักเด็กแต่ละคน
  • มองเด็กพิเศษทุกคนว่าเขาเป็นเด็ก 
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
    เข้าใจถึงพัฒนาการของเด็กทำให้ครูเข้าในถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคนง่ายขึ้น
ความพร้อมของเด็ก
   - วุฒิภาวะ เด็กทุกคนเหมือนกัน
   - แรงจูงใจ เป็นสิ่งมี่สำคัญมากสำหรับเด็กเพราะเป็นการสร้างความสนใจเด็ก
   - โอกาส ครูสามารถที่จะให้โอกาสกับเด็กได้เสมอ
การสอนโดยบังเอิญ
  - ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  - เด็กเข้าหาครูมากเท่าไรยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
  - ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  - ครูต้องมีความสนใจเด็ก
  - ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
การสอนโดยบังเอิญเป็นการสอนที่เด็กวิ่งเข้ามาหาครู หรือเมื่อเด็กมีปัญหาให้ครูช่วย  ซึ่งการสอนโดยบังเอิญจัช่วยเด็กพิเศษได้ดีเพราะเป็นการสอนตัวต่อตัว

อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
  เด็กพิเศษทุกคนต้องมีตารางในการใช้ชีวิตประจำวันไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะเป็นการรู้ล่วงหน้าว่าเมื่อเขามาถึงโรงเรียนสิ่งที่เขาต้องทำนั้นมีอะไรบ้างซึ่งจะทำให้เขารู้สึกมีความปลอดภัย และมั่นใจในตนเอง
ทัศนคติของครู
ความยือหยุ่น
  • การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
  • ครูต้องตอบสนองเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
  -  ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
  -  สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
   เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส ( ครูสำคัญมากในการสร้างโอกาสให้กับเด็กในการเรียนรู้)
เทคนิดการสอนให้แรงจูงใจ
     แรงเสริมจากผุ้ใหญ่ :  ให้ความสนใจกับเด็กเพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมที่ของออกมาและมักเป็นผลดีกับเด็ก แต่หากไม่สนใจเด็กพฤติกรรมที่ดีก็จะเริ่มหายไป

วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
  • ตอบสนองทางวาจา
  • การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
  • พยักหน้ารับ  ยิ้ม ฟัง 
  • สัมผัสทางกาย
  • ให้ความช่วยเหลือในการทำกิจกรรม
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
  • ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
  • ครูให้ความสนใจนานเท่าที่เด็กมีพฤติกกรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบท
 -  ย่อยงาน
 -  ลำดับความยากง่ายของงาน
 -  เป็นแรงเสริมเพื่อให้เด็กก้างไปสู้ความสำเร็จ
 -  การบอกบทจะค่อยๆหายไปตามลำดับ

ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งาน
  • สอนจากง่ายไปยาก
  • ให้แรงเสริมเมื่อเด็กทำได้
  • ทำทีละขั้นไม่เร่งรัด
  • ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา : จำนวนหรือความถี่ของแรงเสริมกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
    สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง เช่น 
-  สอนใส่เสื้อและให้เด็กติดกระดุม เป็นลำดับ ( ก้าวไปข้างหน้า )
-  ครูใส่เสื้อให้เด็กแล้วสอนเด็กติดกระดุม และค่อยมาสอนใส่เสื้อ ( ย้อนมาจากข้างหลัง )

การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • ครูจะงดแรงเสริมเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • ทำอย่างอื่นไม่สนใจเด็ก
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
  • เอาเด็กออกจากิจกรรมนั้น
 ความคงเส้นคงวา : ทำทุกอย่างสม่ำเสมอ 

Post test
- การสอนโดยบังเอิญหมายความว่าอย่างไร
- การสอนโดยครูต้องปฏิบัติอย่างไร
- ตารางประจำวันของเด็กควรเป็นอย่างไร