วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  16
วันอังคาร  ที่  28  เมษายน  พ.ศ. 2558
ความรู้ที่ได้รับ
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized Education Program )
- แผน IEP
  แผนการศึกษาที่ร่างขึ้นเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละบุคคลได้รับการสอนและช่วยเหลือกับความต้องการและความสามารถของเขา โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
แผน IEP ทุกคนจะต้องมีการเซ็นรับรอง คือ ครู ผู้ปกครอง  หมอ ผู้บริหารสถานศึกษา
- การเขียนแผน IEP 

  •  คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
  • เด็กสามารถทำอะไรได้และไม่ได้
  • เริ่มเขียนแผน
ครูต้องสังเกตเด็กและจดบันทึกว่าเด็กมีพัฒนาการอย่างไรบ้างและจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอ
- IEP ประกอบด้วย
 . ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
 . ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
 . เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
 . ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะแนการสิ้นสุด
 . วิธีการประเมินผล
- ขั้นตอนการจักการทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
  - รายงานทางการแพทย์
  - รายงานการประเมินด้านต่างๆ
  - บันทึกจากผูปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
  - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  - กำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้นและระยะยาว
  - กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  - จะต้องได้รับการรับรองจากการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  - ระยะยาว
  - ระยะสั้น
จุดมุ่งหมานระยะยาว

  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
     - น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
     - น้องดาร่วมมือกับผู้อื่นได้
     - น้องริวเข้ากับคนอื่นได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  - ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  - เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  - จะสอนใคร
  - พฤติกรรมอะไร
  - เมื่อไหร่ ที่ไหน
  - พฤตกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
  - เมื่อแผนเสร็จสมบรูณ์ ครูจะใช้แผนระยะสั้น
  - นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  - แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
  - ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถโดยคำนึงถึง
 1. ขั้นตอนการพัฒนาการของเด็กปกติ
 2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
 3. อิทธิพลสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. ประเมินผล

  • ประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
การจัดทำแผน IEP
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมิน





**การสอบร้องเพลงเด็ก** 
ประเมิน : ตนเอง : สามารถที่จะเข้าใจว่าการเขียนแผน IEP ของเด็กพิเศษจะต้องเขียนแยกเป็นบุคคลและสามารถที่จะเข้าใจธรรมชาติของเด็กพิเศษ  การร้องเพลงก็ยังไม่ดีมากสักเท่าไรแต่ก็พยายามอย่างเต็มที
เพื่อน : เข้าใจและสามารถปฏิบัติทำกิจกรรมกลุ่มอย่างสนุกสนานเข้าใจในเนื้อหาในการเรียนรู้  ในการร้องเพลงเพื่อนทุกคนมีความตั้งใจและพยายามเป็นอย่างมาก ทุกคนทำด้วยความเต็มที สุดความสามารถ
อาจารย์ : อธิบายเนื้อหาในการเรียนรู้ให้นักศึกษาเข้าใจได้ระเอียดสามารถเข้าใจได้ง่าย   ดูแลเอาใจใส่ให้น.ศ.เขียนแผน IEP ให้เป็น  ให้คำแนะนำในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีช่วยให้น.ศ. เข้าใจถึงเนื้อหาการเรียนการสอน บรรยากาศในการเรียนการสอนมีความสนุกสนานสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนให้มีสีสันมากขึ้น