วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

  บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
วันจันทร์  ที่  26 มกราคม  พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ
บทบาทของครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
สิ่งที่ครูไม่ควรทำ

  • ไม่ควรวินิจฉัยเด็ก
  • ไม่ควรตั้งชื่อหรือฉายาให้กับเด็กเพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  • ห้ามซ้ำเติมจุดด้อยของเด็ก
  • ห้ามใส่ความรู้สึกของครูในเวลาการสังเกต
สิ่งที่ครูควรทำ
  • บอกสิ่งที่เป็นด้านบวกของเด็กให้ผู้ปกครอง
  • สังเกตเด็กด้วยความจริง
  • บอกสิ่่งที่เด็กทำได้ให้พ่อ แม่
  • บันทึกสิ่งที่เห็นตามจริง
สังเกตอย่างมีระบบ คือ การสังเกตที่ครูสังเกตได้ดีกว่าบุคคลอื่นเพราะครูอยู่ในสถานกาณ์ต่างๆกับเด็กช่วงเวลายางนานกว่า  ต่างจาก หมอ นักจิตวิทยา ที่มุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ คือ การทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไรเพื่อเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครู ผู้ปกครองเข้าใจเด็กมากขึ้นและเด็กบอกถึงความต้องการและความช่วยเหลือได้
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ คือ ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้  ประเมินความสำคัญในเรื่องต่างๆได้ พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ปรากฎให้เห็นเสมอ ครูจะต้องสังเกตเด็กเป็นระยะเวลาหนึ่ง

การบันทึกการสังเกต
 การนับอย่างง่าย นับเป็น ชั่วโมง วัน ครั้ง นาที ในการเกิดพฤติกรรมของเด็ก เช่น การกระถึบเท้า
  การบันทึกต่อเนื่อง  เป็นการบันทึกที่ดีที่สุด เป็นการบันทึกรายละเอียดได้มาก เขียนบันทึกทุกอย่างที่เด็กแสดงพฤติกรรมออกมา หรือในการทำกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบอย่างละเอียด
   การบันทึกไม่ต่อเนื่อง  เป็นการบันทึกลงบนบัตรเล็กๆ ในช่วงระยะเวลาสั้นๆเกี่ยวกับพฟติกรรมเด็กแต่ละคน

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป : เอาใจใส่ในระดับมากน้อยของความบกพร่อง  มากว่าชนิดของความบกพร่อง
พฤตืกรรมไม่เหมาะสมกับเด็กไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ : ครูตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง  พฤติกรรมที่เกิดขึ้นไปขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่ถ้าให้ปล่อยไป


กิจกรรมในห้องเรียนวาดดอกบัวและร้องเพลง



ประเมิน   ตนเอง : มีความพยายามในการร้องเพลงเป็นอย่างมาก ตั้งใจศึกษาและเข้าใจเนื้อหาในบทเรียน
        เพื่อน : ทุกคนมีความตั้งใจและความพยายามในการร้องเพลงเป็นอย่างมาก
        อาจารย์ : มีความสนุกสนานบรรยากาศเต็มไปด้วยเสียงเพลงและอธิบายเนื้อหาการเรียนการสอนได้ละเอียดมีการยกตัวอย่างให้น.ศฟัง

   


วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
วันจันทร์  ที่  19  มกราคม  พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ
     การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
รูปแบบจัดการศึกษา
  • การศึกษาปกติทั่วไป ( Regular  Education )  สมัยโบราณ
  • การศึกษาพิเศษ ( Specicl Education ) เรียนเฉพาะเด็กพิเศษ
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม ( Integrated  Education หรือ Mainstreming )
  • การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education ) การศึกษาทุกประเภทมาเรียนรวมกันได้
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ เด็กทุกคนได้สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสที่เหมาะสม
ความหมายของเด็กเรียนร่วม ( Integrated  Education หรือ Mainstreming ) 
  • จัดให้เด็กเข้าไปศึกษาโรงเรียนทั่วไป
  • มีกิจกรรมที่เด็กพิเศษและเด็กปกติทำร่วมกันได้
  • ใช้ช่ววงเวลาใดเวลาหนึ่ง
  • ครูมีการร่วมมือกัน
การเรียนบางเวลา คือ การให้เด็กพิเศษมาเรียนบางเวลาโดยเป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการปานกลาง-มากจึงไม่อาจเรียนเต็มเวลา
การเรียนร่วมเต็มเวลา คือ การให้เด็กเรียนตลอดทั้งวันโดยจัดกระบวนการเรียนการสอนเหมือนเด็กปกติเด็กพิเศษจะอยู่ในระดับปานกลาง-น้อย 

ความหมายของการเรียนแบบรวม  (Inclusive Eduction )
  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • เด็กอยู่ตั้งแต่แรกในการรับเข้าศึกษา
  • จัดให้บริการพิเศษของแต่ละบุคคล
ความแตกต่างสำหรับการเรียนร่วมและเรียนรวม
การเรียนร่วมเกิดขึ้นมาก่อน คือ เด็กอยู่ในสถานศึกษาพิเศษนั้นๆและศุนย์ศึกษาพิเศษนั้นจะประสานกับทางโรงเรียนให้เด็กได้เข้าเรียนรวมกับเด็กปกติในโรงเรียน
การเรียนรวมเดิกหลัง คือ เด็กพิเศษคนนั้นได้มาสมัครทางโรงเรียนตั้งแต่แรกโดยไม่ได้อยู่ในสถานศึกษาเด็กพิเศษใดเลย 

Wilson,2007
  • ยึดปรัชญาการอยู่ด้วยกันเป็นหลัก(Inclusion )
  • การสอนที่ดีครูและเด็กช่วยให้ทุกคนเป็นคนดีของชุมชน
  • เน้นวิถีชีวิตการเป็นอยู่ในสังคม
  • การจัดกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงเด็กทั้งห้อง
  • เด็กทุกคนเรียนเหมือนกันแต่มีทางเลือกที่ต่างกัน
''Inclusive Education is Education for all,
   It involves  receiving people
   at the beginning of their  education,
   with provision of additional  services
   needed by each  individual''
การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคนเริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัยแต่ละคนรับการช่วยเหลือที่แตกต่างกัน

สรุป : การศึกษาแบบเรียนรวม
  • เป็นการจัดการศึกษาที่เด็กพิเศษเข้ามรวมเรียนกับเด็กปกติตั้งแต่แรกโดยมีบริการตามความต้องการของแต่ละคน
  • เด็กพิเศษทุกคนสามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสที่เหมาะสม
  • เกิดจากปรัชญาการศึกษาว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Eduction for All )
  • การเรียนรวมทางโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้ทุกคนโดยไม่แบ่งแยกกัน
  • เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
  • ทุกคนยอมรับ
ความสำคัญการศึกษาแบเรียนรวม
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • สอนได้ สอยง่าย
  • เป็นการศึกษาทีมีขีดจำกัดน้อย คือ กิจกรรมที่เด็กปกติและเด็กพิเศษรวมกันทำได้
ประเมิน :  ตนเอง :  มีความตั้งใจในการเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในห้องเรียน มีความเข้าใจเนื้อหาเป็นส่วนใหญ่
              เพื่อน : มีความตั้งใจ สนุกสนานร่วมกิจกรรมได้ดี
              อาจารย์ : อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาโดย ย้ำเนื้อหาที่น.ศยังไม่ได้เพื่อให้เข้าใจ อย่างจริง
    


วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่  2
วันจันทร์  ที่  12  มกราคม  พ.ศ.  2558 



ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เฉลยข้อสอบเด็กพิเศษ..ก็ทำให้รู้ว่าการทำข้อสอบนั้นจะต้องมีสมาธิในการจำและทำข้อสอบวิเคราะห์ คิดให้รอบคอบในการทำข้อสอบ....แนะแนวการสอนและคะแนนได้แก่  บล็อก 30 คะแนน  จิตพิสัย  20  คะแนน   เขียนแผน TEP  10  คะแนน  กิจกรรมในห้องเรียน  40 คแนน    และอธิบายการแต่งกายตั้งแต่  ผม  เสื้อผ้า   กระโปรว  ร้องเท้า   มีการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
1. เด็กพิเศษมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
    ตอบ  มี 10 ประเภท

  • เด็กปัญญาเลิศ
  • เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
  • เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
  • เด็กบกพร่องทางการเห็น
  • เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  • เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
  • เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
  • เด็กออทิสติก
  • เด็กพิการซ้อน
2. ยกตัวอย่างเด็กพิเศษมา 1 ประเภท สาเตุ  อาการ  วิธีการดูแล
   เด็กดาวซิมโดรม สาเหตุ เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม
ที่เป็นมาแต่กำเนิดสาเหตุ จากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21
3. ชื่อวิชา  รหัสวิชา
     EAED3214  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
4. ชื่อภาษาอังกฤษ
    Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
5. การศึกษาแบบเรียนรวมคืออะไรและมีความสำคัญกับเด็กปฐมวัยอย่างไร
การเรียนรวม คือ เด็กปกติและเด็กพิเศษอยู่ด้วยกันมีความสำคัญเพื่อให้เด็กได้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แบ่งปันดูแลกัน เปิดโลกกว้างในแง่มุมใหม่เพื่อเรียนรู้สิ่งต่างรอบตัว การเข้ากับสังคมการใช้ชีวิตในอนาคตและปัจจุบัน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก

เพลงนม 
นมเป็นอาหารดี  มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ     ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่วเหลือง ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ     ร่างกายแข็งแรง

เพลงอาบน้ำ
อาบน้ำซู่ซ่า  ล้างหน้าล้างตา
ฟอกสบุ่ถูตัว  ชำระเหงื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว  เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าให้ขุ่นมัว  สุขกายสบายใจ

เพลงแปรงฟัน
ตื่นเช้าเราแปรงฟัน  กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปรงฟัน  ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม
แปรงฟันที่ถูกวิธี  ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
แปรงฟันที่ถูกวิธี  ดูซิต้องแปรงขึ้นลง

เพลงพี่น้องกัน
บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตา ยาย
มีทั้งน้า อา พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย เราเป็นพี่น้องกัน

เพลงมาโรงเรียน
เรามาโรงเรียน  เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทานสนุกถูกใจ
เราเรียนเราเล่น  เราเป็รสุขใจ
ร่าเริงแจ่มใสเมื่อมาโรงเรียน

ประเมิน :  ตนเอง :  มีความตั้งใจมากในการร้องเพลงเพราะตนเองร้องไม่ค่อยดีแต่ก็จะพยายาม
  เพื่อน : มีความพยายามเป็นอย่างมากในการร้องเพลง วึ่งทุกคนทำได้ดี
 อาจารย์ : มีความตั้งใจและความพยายามเป็นอย่างมากเช่น
เดียวกับน.ศ. ที่จะให้ทุกคนร้องเพลงให้ได้




วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1
วันจันทร์  ที่  5  มกราคม  พ.ศ. 2558

คาบแรกที่เรียนวันนี้มีการอธิบายและทำข้อตกลงในการเรียนการสอนในชั้นเรียนและอาจารย์ใบคะแนนมาเรียน หลังจากนั้นก็บอกถึงการเรียนว่าจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร เช่น การจัดเก้าอี้เป็นครึ่งวงกลมในการเรียนคาบต่อไป บอกคะแนนอย่างคราวๆว่าจะอะไรบ้าง คือ บล็อก 30 คะแนน จิตพิสัย 20 คะแนน และอาจารย์จะเน้นในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมให้มากขึ้นการมาเรียนตรงต่อเวลา มาสายไม่เกิน 15 นาทีเป็นต้น บรรยายกาศในการพบกันวันแรก มีความสนุกสนาน เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ

ประเมิน 
    ตนเอง : มีการแต่งกายเรียบร้อยค่อยข้างพร้อมที่จะเรียนรู้
    เพื่อน :  มีความสนุกสนาน ร่าเริง
    อาจารย์ :  ชี้แจงในการสอนได้สนุกสนาน อัธยาศัยดี