วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

  บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
วันจันทร์  ที่  26 มกราคม  พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ
บทบาทของครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
สิ่งที่ครูไม่ควรทำ

  • ไม่ควรวินิจฉัยเด็ก
  • ไม่ควรตั้งชื่อหรือฉายาให้กับเด็กเพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  • ห้ามซ้ำเติมจุดด้อยของเด็ก
  • ห้ามใส่ความรู้สึกของครูในเวลาการสังเกต
สิ่งที่ครูควรทำ
  • บอกสิ่งที่เป็นด้านบวกของเด็กให้ผู้ปกครอง
  • สังเกตเด็กด้วยความจริง
  • บอกสิ่่งที่เด็กทำได้ให้พ่อ แม่
  • บันทึกสิ่งที่เห็นตามจริง
สังเกตอย่างมีระบบ คือ การสังเกตที่ครูสังเกตได้ดีกว่าบุคคลอื่นเพราะครูอยู่ในสถานกาณ์ต่างๆกับเด็กช่วงเวลายางนานกว่า  ต่างจาก หมอ นักจิตวิทยา ที่มุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ คือ การทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไรเพื่อเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครู ผู้ปกครองเข้าใจเด็กมากขึ้นและเด็กบอกถึงความต้องการและความช่วยเหลือได้
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ คือ ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้  ประเมินความสำคัญในเรื่องต่างๆได้ พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ปรากฎให้เห็นเสมอ ครูจะต้องสังเกตเด็กเป็นระยะเวลาหนึ่ง

การบันทึกการสังเกต
 การนับอย่างง่าย นับเป็น ชั่วโมง วัน ครั้ง นาที ในการเกิดพฤติกรรมของเด็ก เช่น การกระถึบเท้า
  การบันทึกต่อเนื่อง  เป็นการบันทึกที่ดีที่สุด เป็นการบันทึกรายละเอียดได้มาก เขียนบันทึกทุกอย่างที่เด็กแสดงพฤติกรรมออกมา หรือในการทำกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบอย่างละเอียด
   การบันทึกไม่ต่อเนื่อง  เป็นการบันทึกลงบนบัตรเล็กๆ ในช่วงระยะเวลาสั้นๆเกี่ยวกับพฟติกรรมเด็กแต่ละคน

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป : เอาใจใส่ในระดับมากน้อยของความบกพร่อง  มากว่าชนิดของความบกพร่อง
พฤตืกรรมไม่เหมาะสมกับเด็กไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ : ครูตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง  พฤติกรรมที่เกิดขึ้นไปขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่ถ้าให้ปล่อยไป


กิจกรรมในห้องเรียนวาดดอกบัวและร้องเพลง



ประเมิน   ตนเอง : มีความพยายามในการร้องเพลงเป็นอย่างมาก ตั้งใจศึกษาและเข้าใจเนื้อหาในบทเรียน
        เพื่อน : ทุกคนมีความตั้งใจและความพยายามในการร้องเพลงเป็นอย่างมาก
        อาจารย์ : มีความสนุกสนานบรรยากาศเต็มไปด้วยเสียงเพลงและอธิบายเนื้อหาการเรียนการสอนได้ละเอียดมีการยกตัวอย่างให้น.ศฟัง

   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น