บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558
ความรู้ที่ได้รับ
ก่อนที่จะเข้าสู่การเรียนการสอนมีแบบทดสอบให้ทุกคนทำกัน เป็นรถไฟเหาะ
คำถามดังนี้
1. อยากเล่นรถไฟเหาะแต่มีคนเข้าแถวอยู่ยาวถามว่าจะรอกี่นาที
ตอบ 5นาที
2. ขึ้นไปเล่นแล้วรู้สึกอย่างไร
ตอบ ตื้นเต้น
3. ตอนที่เราเปียกน้ำเราจะพูดว่าอะไร
ตอบ เปียกแล้ว
4. ถ้าไปเล่นม้าหมุนแล้วเกิดเสียขึ้นมาจะพูดว่าอะไร
ตอบ อ้าว ..เป็นอะไร
5. ออกแบบรถไฟเหาะของตนเอง
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม เป็นทักษะที่สำคัญมากกับเด็กพิเศษ ในการใช้ชีวิต การช่วยเหลือตนเอง การใช้ภาษา
- เด็กที่ขาดทักษะทางสังคมไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อ แม่ แต่ขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง
- ทักษะทางสังคมไม่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจโดยอาศัยสื่อ
- ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษไม่รู้วิธีการเล่น
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตอย่างเป็นระบบ บ่งบอกเด็กคนนั้นว่าเป็นอย่างไรและจดบันทึกแล้วนำมาเขียนเป็นแผน IEP โดยครูเข้าใจเด็กอย่างลึกซึ้ง
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกคน
- ให้เล่นเป็รกลุ่ม 2-4 คน
- เด็กปกติให้ทำหน้าที่เหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้า
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- คอยๆเพิ่มอุปกรณ์ในการเล่น เพื่อเป็นการยืดเวลา
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- พาเด็กไปเข้ากลุ่มร่วมเล่นกับเพื่อน
-โดยการพูดนำของครู
ช่วยเด็กทุกคนรู้กฎเกณฑ์
- กฎเกณฑ์เป็นเรื่องไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
- การให้โอกาส
- ห้ามนำความบกพร่องของเด็กพิเศษมาต่อรองกับเด็กปกติ
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
กิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษ ด้วยศิลปะ
นำไปใช้ : การเรียนการสอนเด็กพิเศษก็ไม่ได้แตกอะไรมากกับเด็กปกติ ครูจะต้องเข้าใจและให้เวลาในการพัฒนากับเด็กพิเศษ จะต้องช่วยดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดช่วนยหลือเขาในบางเรื่อง
ประเมิน ตนเอง: มีความตั้งใจและเข้าร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนได้ดี
เพื่อน : มีความสนุกสนาน ตั้งใจที่จะศึกษาเล่าเรียนอาจจะมีคุยบางแต่ก็มีความตั้งใจดี
อาจารย์ : มีสื่อการสอนที่จะเข้าสู่บทเรียนให้น.ศ. คลายเครียดได้เพื่อความสนุกสนาน และสามารถที่จะอธิบายเนื้อหา หรือยกตัวอย่างมาประกอบดพื่อให้น.ศ. เข้าในเนื้อหาการเรียนมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น