วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  16
วันอังคาร  ที่  28  เมษายน  พ.ศ. 2558
ความรู้ที่ได้รับ
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized Education Program )
- แผน IEP
  แผนการศึกษาที่ร่างขึ้นเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละบุคคลได้รับการสอนและช่วยเหลือกับความต้องการและความสามารถของเขา โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
แผน IEP ทุกคนจะต้องมีการเซ็นรับรอง คือ ครู ผู้ปกครอง  หมอ ผู้บริหารสถานศึกษา
- การเขียนแผน IEP 

  •  คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
  • เด็กสามารถทำอะไรได้และไม่ได้
  • เริ่มเขียนแผน
ครูต้องสังเกตเด็กและจดบันทึกว่าเด็กมีพัฒนาการอย่างไรบ้างและจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอ
- IEP ประกอบด้วย
 . ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
 . ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
 . เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
 . ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะแนการสิ้นสุด
 . วิธีการประเมินผล
- ขั้นตอนการจักการทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
  - รายงานทางการแพทย์
  - รายงานการประเมินด้านต่างๆ
  - บันทึกจากผูปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
  - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  - กำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้นและระยะยาว
  - กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  - จะต้องได้รับการรับรองจากการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  - ระยะยาว
  - ระยะสั้น
จุดมุ่งหมานระยะยาว

  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
     - น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
     - น้องดาร่วมมือกับผู้อื่นได้
     - น้องริวเข้ากับคนอื่นได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  - ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  - เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  - จะสอนใคร
  - พฤติกรรมอะไร
  - เมื่อไหร่ ที่ไหน
  - พฤตกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
  - เมื่อแผนเสร็จสมบรูณ์ ครูจะใช้แผนระยะสั้น
  - นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  - แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
  - ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถโดยคำนึงถึง
 1. ขั้นตอนการพัฒนาการของเด็กปกติ
 2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
 3. อิทธิพลสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. ประเมินผล

  • ประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
การจัดทำแผน IEP
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมิน





**การสอบร้องเพลงเด็ก** 
ประเมิน : ตนเอง : สามารถที่จะเข้าใจว่าการเขียนแผน IEP ของเด็กพิเศษจะต้องเขียนแยกเป็นบุคคลและสามารถที่จะเข้าใจธรรมชาติของเด็กพิเศษ  การร้องเพลงก็ยังไม่ดีมากสักเท่าไรแต่ก็พยายามอย่างเต็มที
เพื่อน : เข้าใจและสามารถปฏิบัติทำกิจกรรมกลุ่มอย่างสนุกสนานเข้าใจในเนื้อหาในการเรียนรู้  ในการร้องเพลงเพื่อนทุกคนมีความตั้งใจและพยายามเป็นอย่างมาก ทุกคนทำด้วยความเต็มที สุดความสามารถ
อาจารย์ : อธิบายเนื้อหาในการเรียนรู้ให้นักศึกษาเข้าใจได้ระเอียดสามารถเข้าใจได้ง่าย   ดูแลเอาใจใส่ให้น.ศ.เขียนแผน IEP ให้เป็น  ให้คำแนะนำในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีช่วยให้น.ศ. เข้าใจถึงเนื้อหาการเรียนการสอน บรรยากาศในการเรียนการสอนมีความสนุกสนานสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนให้มีสีสันมากขึ้น



วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึอนุทิน ครั้งที่  15
วันจันทร์  ที่  20  เมษายน  พ.ศ. 2558
 ความรู้ที่ได้รับ
ทบทวนข้อสอบ
1. การใส่ถุงเท้า สอนแบบย่องาน  โดยให้เด็กนั่งลงก่อนเป็นอันดับแรก
2. การปรับพฤติกรรมการตีเพื่อน  ครูบอกน้องในการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับเด็กอย่างมีเหตุผล  เมื่อไม่ตีเพื่อนแล้วก็ควรแสดงพฤติกรรม เช่น การบอกเพื่อนว่าของฉัน เป็นต้น
3. เด็กออทิสติกกำลังดูเพื่อนเล่นแป้งโดว์
ครูจะต้องมีแรงกระตุ้น  สร้างแรงจูงใจ เช่น หาแป้นพิมไปเล่นกับเพื่อน
4. เด็กพยายามใส่ผ้ากันเปื้อนแต่ไม่สามารถที่จะใส่ได้
ก่อนอื่นครูควรสังเกตเด็กก่อนว่าต้องการความช่วยเหลือจากครูหรือไม่หลังจากนั้นครูค่อยเข้าไปช่วย
5. เด็กสมาธิสั้นไม่ใส่รองเท้า 
เรียกชื่อเด็ก สัมผัสตัวเด็ก นำเด็กมาใส่รองเท้าถ้าไม่ยอมครูก็ลากเด็กมาใส่ได้แล้วบอกว่าเพื่อนรออยู่หน้าห้องแล้วน้า ให้ครูช่วยไหม

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียนรู้
เป้าหมาย
- ช่วยเหลือเด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า  ฉันทำได้
- พัฒนาความกระตื้นรื้อรน ความอยากรู้อยากเห็น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอควร
* ช่วงความสนใจในระดับปริญญาตรี จะอยู่ประมาณ 2 ชั่วโมง
 เด็กพิเศษไม่เกิน 5 นาที 
 เด็กปกติ 10 -15 นาที
     การเลียนแบบ
การที่เด็กพิเศษเรียนรู้ได้ดีโดยจากการเลียนแบบจากคนรอบข้าง
การทำตามคำสั่งคำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพพุดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้ไหม
- คำสั่งยุ่งยากซํบซ้อนไปไหม
การรับรู้การเคลื่อนไหว
- ประสาทมัมพันธ์ที่ง 5 คือ ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็๋ก

  • การกรองน้ำ การตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ 
- จากการสนทนา
- แกงจืดที่หนูกินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นเรียนรู้ด้วยเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • พูดในทางที่ดี
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก
ประเมิน :   ตนเอง :  ได้เข้าใจเด็กว่าในการเรียนรู้ของเด็กพิเศษจะต้องมีการเลียนแบบ เข้าใจคำสั่งและครูจะต้องเป็นผู้กระตุ้นและช่วยเหลือเด็ก
เพื่อน : มีความตั้งใจใส่ใจในการเรียนรู้ มีความสนุกสนานในการเรียน
อาจารย์ : สามารถบอกอธิบายเนื้อหาในการเรียนการสอนให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้ในการสอนอนาคต



วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12
วันจันทร์   ที่  30  มีนาคม  พ.ศ.  2558

เรียนวิชา ศิลปะสร้างสรรค์แทน


วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  11
วันจันทร์  ที่  23  มีนาคม   พ.ศ.  2558

สอบเก็บคะแนนย่อย


วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
วันจันทร์  ที่  16  มีนาคม  พ.ศ. 2558
ความรู้ที่ได้รับ
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
 เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
            การกิน
            การเข้าห้องน้ำ
            การแต่งตัว
            กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างอิสระ

  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผุ้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งที่สำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ครูจะต้องใจแข็ง)
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างให้กับเด็กมากเกินไป ( ให้เด็กได้ช่วยตนเอง)
  • หนู้ทำช้า  ทำไม่ได้
พูดและให้กำลังใจเด็ก  ความเสมอภาค  รู้จักการรอคอย     ไม่แตกต่างจากเพื่อนในห้องเรียน

จะช่วยเมื่อไร
-  เด็กที่ไม่คอยอยากทะอะไร  หงุดหงิด  เบื่อ  ไม่ค่อยสบาย
-  หลายครั้งให้ช่วยเหลือในสิ่งที่เด็กเรียนรู้ไปแล้ว เช่น ดาวซินโดม
-  เด็กรู้สึกส่าผุ้ใหญ่เป็นที่พึงได้ แต่ต้องช่วยเหลือในสิ่งที่เด็กต้องการ
-  ช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นตอนในการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือออกเป็นย่อยๆ
- เรียงลำดับตามขั้นตอน
ตัวอย่างเช่น การย่อยงาน
การเข้าส้วม

  • เข้าไปห้องน้ำ
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดกั้น 
  • ทิ้งกระดาษชำระในตระกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น  คือ  การแยกย่อยของกิจกรรมนั้นออกมาให้ได้มากที่สุด
สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง
  • ย่อยงานอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็บขั้นเล็กนำไปสู่ความสำเร็จทั้งหมด
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กช่วยเหลือตนเองได้ เป็นอิสระ
กิจกรรมท้ายคาบ(ศิลปะ)









กิจกรรมนี้สื่อความหมาย ว่า ถ้าวาดเส้นใหญ่จะเป็นคนหนักแน่น มั่นใจในตนเอง
ถ้าวาดเส้นเล็กจะเป็นคนสับสนตนเอง ไม่ค่อยมั่นใจ
ประโยชน์ที่ได้กับเด็ก คือ  การให้เด็ก มีกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรง   มีสมาธิ  มีมิติสัมพันธ์  และความคิดสร้างสรรค์

การนำไปใช้   กิจกรรมนั้นให้เด็กได้ปล่อยความเป็นอิสระในตนเอง ความรู้สึกความคิดของอารมณ์ในการแสดงออกมาทางศิลปะ
ประเมิน 
ตนเอง   มีความเข้าใจกับเด็กมาขึ้นในแต่ละช่วงวัยความแตกต่างของแต่ละคน และเข้าใจถึงธรรมชาติของเด็กได้ดียิ่งขึ้น
เพื่อน   มีความสนุกสนานร่าเริง  ตั้งในจะศึกษาหาความรู้เป็นอย่างดีร่วมกันทำกิจกรรมได้ดีมรการช่วยเหลือในการทพกิจกรรม
อาจารย์   บรรยากาศมีแต่ความสนุกสนาน หากิจกรรมที่ให่น.ศ คลายเครียดได้  บรรยายเนื้อหาสอดแทรกความรู้เพิ่มความเข้าใจในเนื้อหา





วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่  9
วันจันทร์  ที่  9  มีนาคม  พ.ศ.  2558
ความรู้ที่ได้รับ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
2. ทักษะทางภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา

  • เข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด/ พูดไม่ชัด

  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ  ตามสบาย  คิดก่อนพูด
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่เด็กถนัด
  • ไม่เปรียบเทียบ
  • เด้กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
เด็กตอบสนองการแสดงออกต่อสิ่งเหล่านี้หรือไม่
- เสียงของครูโดยการหันมามอง
- ต่อคำถาม จะเอาอะไร ด้วยการชี้
- ต่อประโยค ช่วยเอาให้ที
- จะเอานี่ใช่ไหม โดยการพยักหน้า
เด็กเริ่มทำโดย
- ทำเสียงต่างๆผสมปนเป
- ทำเสียงคล้ายพุดเพื่อเรียกร้องความสนใจ
- ใช้เสียงสูงต่ำเหมือนจะถามคำถาม
- พูดเป็นวลีที่มีเสียงคล้ายคำ
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ(ชี้แนะหากจะเป็น)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า) 
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไรยิ่งพูดมากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์ คือ อย่าคาดการณ์ล่วงหน้าให้เด็กสนองคสามต้องการออกมาเพื่อให้ครูได้ช่วยเหลือ หรือเป็นการบอกบท

กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์





ประเมิน  
  • ตนเอง  เข้าใจถึงความต้องการของเด็กพิเศษมากขึ้นในการเรียนกับเด็กปกติ
  • เพื่อน มีความตั้งใจและสนใจในการทำกิจกรรม มีการพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน
  • อาจารย์  สามารถอธิบายให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนในการยกตัวอย่างมาประกอบ ทำให้ นศ. เข้าในมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
วันจันทร์  ที่ 2 มีนาคม  พ.ศ.  2558

ความรู้ที่ได้รับ
ก่อนที่จะเข้าสู่การเรียนการสอนมีแบบทดสอบให้ทุกคนทำกัน เป็นรถไฟเหาะ
คำถามดังนี้
1. อยากเล่นรถไฟเหาะแต่มีคนเข้าแถวอยู่ยาวถามว่าจะรอกี่นาที
ตอบ 5นาที
2. ขึ้นไปเล่นแล้วรู้สึกอย่างไร
ตอบ ตื้นเต้น
3. ตอนที่เราเปียกน้ำเราจะพูดว่าอะไร
ตอบ เปียกแล้ว
4. ถ้าไปเล่นม้าหมุนแล้วเกิดเสียขึ้นมาจะพูดว่าอะไร
ตอบ อ้าว ..เป็นอะไร
5. ออกแบบรถไฟเหาะของตนเอง

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม  เป็นทักษะที่สำคัญมากกับเด็กพิเศษ ในการใช้ชีวิต  การช่วยเหลือตนเอง การใช้ภาษา
- เด็กที่ขาดทักษะทางสังคมไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อ แม่ แต่ขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง
- ทักษะทางสังคมไม่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
 กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจโดยอาศัยสื่อ
- ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษไม่รู้วิธีการเล่น
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตอย่างเป็นระบบ บ่งบอกเด็กคนนั้นว่าเป็นอย่างไรและจดบันทึกแล้วนำมาเขียนเป็นแผน IEP โดยครูเข้าใจเด็กอย่างลึกซึ้ง
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกคน
- ให้เล่นเป็รกลุ่ม 2-4 คน
- เด็กปกติให้ทำหน้าที่เหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้า
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- คอยๆเพิ่มอุปกรณ์ในการเล่น เพื่อเป็นการยืดเวลา
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  - พาเด็กไปเข้ากลุ่มร่วมเล่นกับเพื่อน
  -โดยการพูดนำของครู
ช่วยเด็กทุกคนรู้กฎเกณฑ์
- กฎเกณฑ์เป็นเรื่องไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
- การให้โอกาส
- ห้ามนำความบกพร่องของเด็กพิเศษมาต่อรองกับเด็กปกติ
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง

กิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษ ด้วยศิลปะ


 


 
 
 
นำไปใช้ :  การเรียนการสอนเด็กพิเศษก็ไม่ได้แตกอะไรมากกับเด็กปกติ ครูจะต้องเข้าใจและให้เวลาในการพัฒนากับเด็กพิเศษ จะต้องช่วยดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดช่วนยหลือเขาในบางเรื่อง
ประเมิน  ตนเอง:  มีความตั้งใจและเข้าร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนได้ดี
           เพื่อน :  มีความสนุกสนาน ตั้งใจที่จะศึกษาเล่าเรียนอาจจะมีคุยบางแต่ก็มีความตั้งใจดี
           อาจารย์ : มีสื่อการสอนที่จะเข้าสู่บทเรียนให้น.ศ. คลายเครียดได้เพื่อความสนุกสนาน และสามารถที่จะอธิบายเนื้อหา หรือยกตัวอย่างมาประกอบดพื่อให้น.ศ. เข้าในเนื้อหาการเรียนมากขึ้น


 
บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7
วันจันทร์  ที่  23 มีนาคม  พ.ศ. 2558

สอบกลางภาค


วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่  6
วันจันทร์  ที่  16  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558


                              Happy Birthday อ.เบียร์

ขอให้อจารย์มีความสุขมากๆๆน่ะค่ะ คิดสิ่งใดขอให้สมปรารถนามีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเป็นอาจารย์ที่น่ารักของนักศึกษาทุกคนอย่างนี้ตลอดไปน่ะค่ะ




















วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่  5
วันจันทร์  ที่  9  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับการสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
   ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม :  การอมรมระยะสั้นๆ สัมมนา  สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาะวะปกติ
  • เด็กมักคล้ายกันมากกว่าแตกต่างกัน
  • ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิบัติสัมพันธ์กับเด็กพิเศษและเด็กปกติ
  • รู้จักเด็กแต่ละคน
  • มองเด็กพิเศษทุกคนว่าเขาเป็นเด็ก 
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
    เข้าใจถึงพัฒนาการของเด็กทำให้ครูเข้าในถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคนง่ายขึ้น
ความพร้อมของเด็ก
   - วุฒิภาวะ เด็กทุกคนเหมือนกัน
   - แรงจูงใจ เป็นสิ่งมี่สำคัญมากสำหรับเด็กเพราะเป็นการสร้างความสนใจเด็ก
   - โอกาส ครูสามารถที่จะให้โอกาสกับเด็กได้เสมอ
การสอนโดยบังเอิญ
  - ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  - เด็กเข้าหาครูมากเท่าไรยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
  - ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  - ครูต้องมีความสนใจเด็ก
  - ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
การสอนโดยบังเอิญเป็นการสอนที่เด็กวิ่งเข้ามาหาครู หรือเมื่อเด็กมีปัญหาให้ครูช่วย  ซึ่งการสอนโดยบังเอิญจัช่วยเด็กพิเศษได้ดีเพราะเป็นการสอนตัวต่อตัว

อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
  เด็กพิเศษทุกคนต้องมีตารางในการใช้ชีวิตประจำวันไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะเป็นการรู้ล่วงหน้าว่าเมื่อเขามาถึงโรงเรียนสิ่งที่เขาต้องทำนั้นมีอะไรบ้างซึ่งจะทำให้เขารู้สึกมีความปลอดภัย และมั่นใจในตนเอง
ทัศนคติของครู
ความยือหยุ่น
  • การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
  • ครูต้องตอบสนองเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
  -  ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
  -  สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
   เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส ( ครูสำคัญมากในการสร้างโอกาสให้กับเด็กในการเรียนรู้)
เทคนิดการสอนให้แรงจูงใจ
     แรงเสริมจากผุ้ใหญ่ :  ให้ความสนใจกับเด็กเพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมที่ของออกมาและมักเป็นผลดีกับเด็ก แต่หากไม่สนใจเด็กพฤติกรรมที่ดีก็จะเริ่มหายไป

วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
  • ตอบสนองทางวาจา
  • การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
  • พยักหน้ารับ  ยิ้ม ฟัง 
  • สัมผัสทางกาย
  • ให้ความช่วยเหลือในการทำกิจกรรม
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
  • ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
  • ครูให้ความสนใจนานเท่าที่เด็กมีพฤติกกรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบท
 -  ย่อยงาน
 -  ลำดับความยากง่ายของงาน
 -  เป็นแรงเสริมเพื่อให้เด็กก้างไปสู้ความสำเร็จ
 -  การบอกบทจะค่อยๆหายไปตามลำดับ

ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งาน
  • สอนจากง่ายไปยาก
  • ให้แรงเสริมเมื่อเด็กทำได้
  • ทำทีละขั้นไม่เร่งรัด
  • ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา : จำนวนหรือความถี่ของแรงเสริมกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
    สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง เช่น 
-  สอนใส่เสื้อและให้เด็กติดกระดุม เป็นลำดับ ( ก้าวไปข้างหน้า )
-  ครูใส่เสื้อให้เด็กแล้วสอนเด็กติดกระดุม และค่อยมาสอนใส่เสื้อ ( ย้อนมาจากข้างหลัง )

การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • ครูจะงดแรงเสริมเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • ทำอย่างอื่นไม่สนใจเด็ก
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
  • เอาเด็กออกจากิจกรรมนั้น
 ความคงเส้นคงวา : ทำทุกอย่างสม่ำเสมอ 

Post test
- การสอนโดยบังเอิญหมายความว่าอย่างไร
- การสอนโดยครูต้องปฏิบัติอย่างไร
- ตารางประจำวันของเด็กควรเป็นอย่างไร


วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

  บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
วันจันทร์  ที่  26 มกราคม  พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ
บทบาทของครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
สิ่งที่ครูไม่ควรทำ

  • ไม่ควรวินิจฉัยเด็ก
  • ไม่ควรตั้งชื่อหรือฉายาให้กับเด็กเพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  • ห้ามซ้ำเติมจุดด้อยของเด็ก
  • ห้ามใส่ความรู้สึกของครูในเวลาการสังเกต
สิ่งที่ครูควรทำ
  • บอกสิ่งที่เป็นด้านบวกของเด็กให้ผู้ปกครอง
  • สังเกตเด็กด้วยความจริง
  • บอกสิ่่งที่เด็กทำได้ให้พ่อ แม่
  • บันทึกสิ่งที่เห็นตามจริง
สังเกตอย่างมีระบบ คือ การสังเกตที่ครูสังเกตได้ดีกว่าบุคคลอื่นเพราะครูอยู่ในสถานกาณ์ต่างๆกับเด็กช่วงเวลายางนานกว่า  ต่างจาก หมอ นักจิตวิทยา ที่มุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ คือ การทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไรเพื่อเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครู ผู้ปกครองเข้าใจเด็กมากขึ้นและเด็กบอกถึงความต้องการและความช่วยเหลือได้
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ คือ ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้  ประเมินความสำคัญในเรื่องต่างๆได้ พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ปรากฎให้เห็นเสมอ ครูจะต้องสังเกตเด็กเป็นระยะเวลาหนึ่ง

การบันทึกการสังเกต
 การนับอย่างง่าย นับเป็น ชั่วโมง วัน ครั้ง นาที ในการเกิดพฤติกรรมของเด็ก เช่น การกระถึบเท้า
  การบันทึกต่อเนื่อง  เป็นการบันทึกที่ดีที่สุด เป็นการบันทึกรายละเอียดได้มาก เขียนบันทึกทุกอย่างที่เด็กแสดงพฤติกรรมออกมา หรือในการทำกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบอย่างละเอียด
   การบันทึกไม่ต่อเนื่อง  เป็นการบันทึกลงบนบัตรเล็กๆ ในช่วงระยะเวลาสั้นๆเกี่ยวกับพฟติกรรมเด็กแต่ละคน

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป : เอาใจใส่ในระดับมากน้อยของความบกพร่อง  มากว่าชนิดของความบกพร่อง
พฤตืกรรมไม่เหมาะสมกับเด็กไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ : ครูตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง  พฤติกรรมที่เกิดขึ้นไปขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่ถ้าให้ปล่อยไป


กิจกรรมในห้องเรียนวาดดอกบัวและร้องเพลง



ประเมิน   ตนเอง : มีความพยายามในการร้องเพลงเป็นอย่างมาก ตั้งใจศึกษาและเข้าใจเนื้อหาในบทเรียน
        เพื่อน : ทุกคนมีความตั้งใจและความพยายามในการร้องเพลงเป็นอย่างมาก
        อาจารย์ : มีความสนุกสนานบรรยากาศเต็มไปด้วยเสียงเพลงและอธิบายเนื้อหาการเรียนการสอนได้ละเอียดมีการยกตัวอย่างให้น.ศฟัง

   


วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
วันจันทร์  ที่  19  มกราคม  พ.ศ. 2558

ความรู้ที่ได้รับ
     การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
รูปแบบจัดการศึกษา
  • การศึกษาปกติทั่วไป ( Regular  Education )  สมัยโบราณ
  • การศึกษาพิเศษ ( Specicl Education ) เรียนเฉพาะเด็กพิเศษ
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม ( Integrated  Education หรือ Mainstreming )
  • การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education ) การศึกษาทุกประเภทมาเรียนรวมกันได้
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ เด็กทุกคนได้สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสที่เหมาะสม
ความหมายของเด็กเรียนร่วม ( Integrated  Education หรือ Mainstreming ) 
  • จัดให้เด็กเข้าไปศึกษาโรงเรียนทั่วไป
  • มีกิจกรรมที่เด็กพิเศษและเด็กปกติทำร่วมกันได้
  • ใช้ช่ววงเวลาใดเวลาหนึ่ง
  • ครูมีการร่วมมือกัน
การเรียนบางเวลา คือ การให้เด็กพิเศษมาเรียนบางเวลาโดยเป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการปานกลาง-มากจึงไม่อาจเรียนเต็มเวลา
การเรียนร่วมเต็มเวลา คือ การให้เด็กเรียนตลอดทั้งวันโดยจัดกระบวนการเรียนการสอนเหมือนเด็กปกติเด็กพิเศษจะอยู่ในระดับปานกลาง-น้อย 

ความหมายของการเรียนแบบรวม  (Inclusive Eduction )
  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • เด็กอยู่ตั้งแต่แรกในการรับเข้าศึกษา
  • จัดให้บริการพิเศษของแต่ละบุคคล
ความแตกต่างสำหรับการเรียนร่วมและเรียนรวม
การเรียนร่วมเกิดขึ้นมาก่อน คือ เด็กอยู่ในสถานศึกษาพิเศษนั้นๆและศุนย์ศึกษาพิเศษนั้นจะประสานกับทางโรงเรียนให้เด็กได้เข้าเรียนรวมกับเด็กปกติในโรงเรียน
การเรียนรวมเดิกหลัง คือ เด็กพิเศษคนนั้นได้มาสมัครทางโรงเรียนตั้งแต่แรกโดยไม่ได้อยู่ในสถานศึกษาเด็กพิเศษใดเลย 

Wilson,2007
  • ยึดปรัชญาการอยู่ด้วยกันเป็นหลัก(Inclusion )
  • การสอนที่ดีครูและเด็กช่วยให้ทุกคนเป็นคนดีของชุมชน
  • เน้นวิถีชีวิตการเป็นอยู่ในสังคม
  • การจัดกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงเด็กทั้งห้อง
  • เด็กทุกคนเรียนเหมือนกันแต่มีทางเลือกที่ต่างกัน
''Inclusive Education is Education for all,
   It involves  receiving people
   at the beginning of their  education,
   with provision of additional  services
   needed by each  individual''
การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคนเริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัยแต่ละคนรับการช่วยเหลือที่แตกต่างกัน

สรุป : การศึกษาแบบเรียนรวม
  • เป็นการจัดการศึกษาที่เด็กพิเศษเข้ามรวมเรียนกับเด็กปกติตั้งแต่แรกโดยมีบริการตามความต้องการของแต่ละคน
  • เด็กพิเศษทุกคนสามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสที่เหมาะสม
  • เกิดจากปรัชญาการศึกษาว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Eduction for All )
  • การเรียนรวมทางโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้ทุกคนโดยไม่แบ่งแยกกัน
  • เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
  • ทุกคนยอมรับ
ความสำคัญการศึกษาแบเรียนรวม
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • สอนได้ สอยง่าย
  • เป็นการศึกษาทีมีขีดจำกัดน้อย คือ กิจกรรมที่เด็กปกติและเด็กพิเศษรวมกันทำได้
ประเมิน :  ตนเอง :  มีความตั้งใจในการเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในห้องเรียน มีความเข้าใจเนื้อหาเป็นส่วนใหญ่
              เพื่อน : มีความตั้งใจ สนุกสนานร่วมกิจกรรมได้ดี
              อาจารย์ : อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาโดย ย้ำเนื้อหาที่น.ศยังไม่ได้เพื่อให้เข้าใจ อย่างจริง